...

7 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

แบ่งปันบทความนี้

ถ้าหากว่าคุณคือผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มขยายกิจการ หรือการหาทำตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ สิ่งสำคัญที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้เลยคือการทำเรื่องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) อันเป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินธุรกิจในระดับโรงงาน ซึง พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ปี 2562 ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการขอใบอนุญาตให้มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น สำรหับผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยมีความง่ายทางด้านการขอและเตรียมเอกสารมากขึ้นสำหรับโรงงานขนาดเล็กเหมาะกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ และโรงงานขนาดใหญ่ก็มีความสะดวกในการทำเรื่องขออนุญาตมากขึ้น บทความนี้เลยรวบรวม เกร็ดความรู้ 7 ข้อ ที่ควรรู้เกี่ยวกับ ร.ง.4 ให้กับทุกคนให้อ่านและเตรียมความพร้อมกัน

1. โรงงานคืออะไร? นิยามและความหมายของ “โรงงาน” ในประเทศไทย

เริ่มต้นกันที่ การทำความเข้าใจนิยามของโรงงาน ในประเทศไทย โดยโรงงาน หมายถึง อาคารหรือสถานที่ สำหรับการผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ปรังปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลาย อันเป็นการประกอบการในสถานที่นั้นๆ ซึ่งในประเทศไทยจะมีขีดจำกัดในการดำเนินงานเพื่อข้ายข่ายการเป็นโรงงานในประเทศไทยอยู่ โดยหากอ้างอิงตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ปี 2562 นิยามของโรงงานได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม จากนิยามดั้งเดิม โรงงาน ต้องมีเครื่องจักร 5 แรงม้า หรือ บุคลากรทำงาน 7 คน โดยมีการเพิ่มขีดจำกัดมากในการจัดตั้งโรงงานเป็น โรงงานจะต้องมีเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า หรือคนงานมากกว่า 50 คน เพราะฉะนั้นหากธุรกิจที่มีการดำเนินงานและมีจำนวนแรงม้าหรือจำนวนคนน้อยกว่าที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ จะไม่เข้าข่ายในการเป็น โรงงาน ในประเทศไทย


2. ร.ง. 4 คืออะไร?

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เป็นใบอนุญาตของกรงโรงงานอุตสาหกรรม ที่ออกให้สำหรับโรงงานประเภทที่ 2 และ 3 เพื่อเป็นการรับรองการจัดตั้งโรงงานได้ ที่มีเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้าและมีจำนวนคนมากกว่า 75 คน โดยตามกำหนดใน พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ใบ ร.ง. 4 จะไม่จำเป็นต้องต่ออายุใบ ร.ง. 4 หรือก็คือไม่มีวันหมดอายุนั้นเอง โดยเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียมโรงงานรายปี อ้างอิงตามกำลังแรงม้าที่ใช้ในโรงงานแทนนั่นเอง

3. ทำไมต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน (ร.ง.4)

ดังนั้นแล้วถ้าหากผู้ประกอบการ ได้มีการคำณวนขีดจำกัดในการดำเนินงานแล้วเข้าข่ายนิยามของโรงงาน ตามพ.ร.บ. โรงงาน ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานอันเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด โดย ร.ง. 4 มีเพื่อตรวจสอบและรองรับโรงงานของผู้ประกอบการ ว่าเป็นการประกอบธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายและอยู่ภายใต้การควบคุมเพื่อไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อ สังคม ชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

4. รู้จักกับประเภทของโรงงานที่ต้องขออนุญาตตั้งโรงงาน

ในปี 2563 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการประกาศกฎกระทรวงเพื่อกำหนด ประเภท ชนิดและขนาดของโรงงาน โดยเป็นการแบ่งตามจำนวนและขนาดของแรงม้าของเครื่องจักร จำนวนคนงาน และตามชนิดของโรงงาน โดยมีการจำแนกได้ ทั้งหมด 3 จำพวก ดังนี้:

โรงงานจำพวกที่ 1 โรงงานประเภทรูปแบบเฉพาะ

โรงงานที่เป็นการจำแนกตามประเภทของโรงงานซึ่งเป็นโรงงานประเภทจำเพาะ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดแรงม้าของเครื่องจักรหรือบุคคลากรในโรงงาน ได้แก่ โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว โรงงานการฟักไข่โดยใช้ตู้อบทุกขนาด โรงงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือไฟฟ้า โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนังทุกขนาด โรงงานซ่อมนาฬิกาหรือเครื่องประดับ โรงงานล้างรถยนต์ โรงงานลงรักหรือประดับตกแต่งด้วยแก้ว มุก กระจก ทองหรืออัญมณี

โรงงานจำพวกที่ 2 โรงงานขนาดที่ ไม่เกิน 75 แรงม้าหรือคนงานจำนวน 50 คน

ในกรณีที่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 50 แรงม้า แต่ไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คน จะจัดอยู่ในโรงงานประเภทโรงงานจำพวกที่ 2 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการจำแนกโรงงานหลากหลายประเภทตาม พ.ร.บ. ที่อาจจะถูกจำแนกเป็นประเภทที่ 3 โดยไม่ขึ้นกับข้อกำหนดข้างต้น

โรงงานจำพวกที่ 3 โรงงานที่มีการทำงานเกิน 75 แรงม้าหรือคนงานเกิน 75 คน

โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน อันนับเข้าข่ายนิยามของโรงงาน ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ปี 2562 ซึ่งในข้อกำหนดนี้มีการกำหนดเฉพาะประเภทโรงงานที่ต้องขอ ร.ง. 4 แม้ว่าจะมีเครื่องจักรทั้งหมดไม่ถึง 75 แรงม้าก็ตาม เช่นโรงงานผลิตหรือแปรรูปน้ำมันจากสัตว์และพืช โรงงานผลิตแอลกอฮอล์ โรงงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไม้ และโรงงายย้อมฟอกสี เป็นต้น

หากไม่มั่นใจในประเภทและจำพวกของโรงงาน ผู้ประกอบการสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน โดยละเอียดได้จากโดยคลิ้ก กฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 .หรือ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม โทร (02)-202-4000 หรือ คลิกเพื่อดูตัวอย่าง.

5. เงื่อนไขการขออนุญาตตั้งโรงงานและใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจัดตั้งโรงงานที่อยู่ในโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 จะมีเงื่อนไขในการขออนุญาตการจัดตั้งแรงงานที่ต่างกันเล็กน้อย โดย โรงงานจำพวกที่ 2 ก่อนดำเนินกิจการ ไม่ต้องขอใบ ร.ง.4 แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเริ่มดำเนินงานประกอบกิจการ และเมื่อจะเริ่มประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรงโรงงานรับทราบ ในขณะที่โรงงานจำพวกที่ 3 จะต้องดำเนินการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ก่อนประกอบกิจการ ตามพ.ร.บ. โรงงาน และได้รับใบ ร.ง.4 ก่อนจะเริ่มกิจการได้

6. วิธีการและเอกสารในการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

สำหรับการเตรียมเอกสารเพื่อการยื่นขอ ร.ง.4 ผู้ประกอบการควรติดต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแต่ละเขตหรือจังหวัดที่โรงงานได้มีการจัดตั้งอยู่ เพื่อทำการปรึกษาและรับข้อแนะนำด้านการจัดเตรียมเอกสารและวิธีการดำเนินการ เพื่อการเตรียมเอกสารและการดำเนินการที่ราบรื่นทั้งสองฝ่าย โดยรายการเอกสารเบื้องต้น เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง และเอกสาร การก่อสร้างต่างๆ โดยควรมีการเตรียมเอกสารอย่างน้อย 3 ชุดด้วยกัน โดยควรมีเอกสาร ดังนี้:

  • แบบคำขอรับใบอนุญาต/ขยายโรงงาน ดาวน์โหลด
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล) คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • เอกสารแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน เช่น สำเนาโฉนด
  • แบบแปลนแผนผังอาคารโรงงาน ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุม
  • แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร รับรองความปลอดภัยโดยวิศวกร
  • สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง
  • ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
  • เอกสารอื่นๆตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด

โดยสามารถดูรายละเอียดของเอกสารขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิ้ก

7. ขั้นตอนในพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

เมื่อมีการสอบถามเจ้าหน้าที่และมีการจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วนั้น ผู้ประกอบการสามารถแจ้งยื่นขอการตรวจสอบและทำเรื่องการขอใบอนุญาตได้เลยที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามจังหวัดที่โรงงานฝนแจ่ละจังหวัด โดยยังมีข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการทุกท่านที่มีแผนการจัดตั้งในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นแบบขออนุญาตออนไลน์ได้เลย คลิ้กที่นี่. โดยการยื่นขอ ร.ง.4 จะมี ขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตโรงงาน ดังนี้:

  1. ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบ
  2. เจ้าหน้าที่พิจารณาความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร
  3. เจ้าหน้าที่ลงบันทึกรับเรื่องเพื่อการพิจารณาการขอใบอนุญาต
  4. เจ้าหน้าตรวจสอบและพิจารณาการประกอบกิจการ กระบวนการผลิต ทำเลที่ตั้ง การป้องกันเหตุเดือนร้อนและผลกระทบและการบำบัดมลพิษ พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบ
  5. เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ประกอบการ หากอนุมัติจึงดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ร.ง.4 หรือหากไม่อนุมัติผู้ประกอบการมีสิทธิ์อุทธรณ์ภายใน 30 วัน

สามารถดูรายละเอียดขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตโรงงานเพิ่มเติมได้ที่: ขั้นตอนกรมสรรพากร

สามารถดูรายละเอียดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการโรงงานได้ที่: ค่าธรรมเนียมการดำเนินการ

สามารถดูค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวก ที่ 2 และ โรงงานจำพวกที่ 3 ได้ที่: ค่าธรรมเนียมรายปี

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หากท่านเป็นผู้ประกอบการที่เข้าข่ายในการดำเนินงานในโรงงานจะพวกที่ 3 ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน อันนับเข้าข่ายนิยามของโรงงาน ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ปี 2562 จำเป็นต้องมีการยื่นเรื่องขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ตามกฎหมายของประเทศไทย ทั้งนี้ด้วยการปรับข้อบัญญัติใหม่ทำให้การยื่นหรือเตรียมเอกสารง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้วสำหรับใครที่ไม่ค่อยมั่นใจในการเตรียมเอกสาร สามารถใช้บทความนี้เป็นคู่มือเบื้องต้นในการเตรียมเอกสารได้เลย! สำหรับใครกำลังมองหาพื้นที่โกดังหรือโรงงานในขนาด 300-30,000 ตารางเมตรในสมุทรปราการเพื่อการเช่าในการดำเนินธุรกิจแล้ว สามารถติดต่อพวกเราได้ที่:

ถ้าคุณกำลังมองหาพื้นที่โกดังหรือโรงงานในขนาด 300-30,000 ตารางเมตรในสมุทรปราการเพื่อการเช่าในการดำเนินธุรกิจแล้ว สามารถติดต่อพวกเราได้ที่: https://www.thaiindustrialproperty.com/contact/


แบ่งปันบทความนี้

Compare listings

เปรียบเทียบ