...

เคล็ดลับที่ควรรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าภายในโรงงานและโกดังสินค้าในประเทศไทย

แบ่งปันบทความนี้

ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมและโกดังสินค้าในประเทศไทย ผู้ประกอบการมีความจำเป็นในการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นในการใช้ในอุปกรณ์การทำงาน เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือเครื่องมือใช้สอยต่างๆในโรงงาน ดังนั้นแล้วการเข้าใจหลักการพื้นฐานของไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความเข้าใจ โดยบทความนี้จะแชร์ เกร็ดความรู้พื้นฐาน หลักการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย วิธีการขอเพิ่มไฟฟ้าให้กับโรงงานและรายละเอียดอื่นๆที่ควรรู้!

1. การอ่านบิลค่าไฟฟ้าโรงงาน โกดัง

เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า สิ่งที่สำคัญคือเข้าใจคำศัพท์พื้นฐานต่อไปนี้:

  • หน่วยแรงดันไฟฟ้า โวลต์: แรงดันไฟฟ้าบ่งชี้ถึงแรงดันหรือความต่างศักย์ระหว่างจุดสองจุดในวงจรไฟฟ้า และมักจะถูกวัดเป็นโวลต์ (V)
  • หน่วยกระแสไฟฟ้า แอมแปร์: แอมแปร์หรือกระแสไฟฟ้าเป็นอัตราที่กระแสไฟฟ้าถูกนำไปไหลในวงจร แสดงถึงปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผ่านไปที่จุดใดจุดหนึ่งในวงจร และวัดเป็นแอมแปร์ (A)
  • อัตราการถ่ายโอนพลังงาน กิโลวัตต์ (kW): เป็นหน่วยของพลังงาน แสดงถึงอัตราการทำงานหรือการถ่ายโอนพลังงานในวงจรไฟฟ้า
  • การคำณวนแอมป์ = วัตต์ / โวลต์: สามารถคำนวณแอมป์ได้โดยการหารพลังงานในหน่วยวัตต์ด้วยแรงดันไฟฟ้า
  • การคำณวนวัตต์ = แอมป์ x โวลต์: สามารถคำนวณพลังงานในหน่วยวัตต์ได้โดยการคูณแอมป์กับแรงดันไฟฟ้า
  • พลังงานจริง: พลังงานจริงคือผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับแอมป์และวัดเป็นกิโลวัตต์ (kW) แสดงถึงพลังงานจริงที่ได้รับการใช้หรือนำไปใช้งานจากอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • พลังงานสมมาตร (kVA): พลังงานสมมาตรคือผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับแอมป์ในสภาวะที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและวัดเป็นกิโลวอลต์แอมป์ (kVA)
  • ปัจจัยกำลัง: ปัจจัยกำลังเป็นการวัดความมีประสิทธิภาพในการส่งถ่ายพลังงานในวงจรไฟฟ้า แสดงถึงอัตราส่วนของพลังงานจริง (kW) ต่อพลังงานสมมาตร (kVA) ปัจจัยกำลังเท่ากับ 1 หมายถึงประสิทธิภาพสูงสุด
  • พลังงาน x เวลา = พลังงาน: ผลคูณของพลังงานกับเวลาให้เป็นปริมาณพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งาน ตัวอย่างเช่นหากอุปกรณ์มีกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์และทำงานเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะใช้พลังงาน 2 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh)

ความถี่ 50Hz: ความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ถูกวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hz) แสดงถึงจำนวนรอบที่สมบูรณ์ต่อวินาที ความถี่ 50Hz หมายถึงกระแสไฟฟ้าสลับ 50 รอบต่อวินาที

2. ปริมาณไฟฟ้าที่มีใช้โกดังหรือโรงงานอุตสาหกรมมในประเทศไทยมีจำนวนหน่วยเท่าไร?

โดยปกติแล้วจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่มีให้ในพื้นที่โรงงานและอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และจำนวนหม้อแปลงที่มีในพื้นที่ในการใช้งาน ตัวเลือกมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อไฟฟ้าทั้งแบบเฟสเดียวหรือเฟสสาม ซึ่งมีการจัดอันดับแอมแปร์ที่แตกต่างกัน ตัวเลือกแอมแปร์ที่พบบ่อยสำหรับสถานที่อุตสาหกรรมประกอบด้วย 15/45, 30/100, หรือ 50/150 แอมป์ โดยผู้ประกอบการควรรู้อัตราการใช้พลังงานและค่าแปรไฟฟ้าต่างๆ อย่างเช่น 1 กิโลวัตต์ (kW) มีค่าเท่ากับ 1000 วัตต์ โดยพลังงาน 1 แรงม้า (hp) ต้องใช้พลังงานประมาณ 0.746 kW หรือ 0.932 kVA โดยประเทศไทยนั้นหน่วยแรงดันไฟฟ้ามาตราฐานของไทยจะอยู่ที่ 380 โวลต์สำหรับโกดังหรือโรงงาน และ 50Hz ตามลำดับ

3. ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มไฟฟ้าในโรงงานได้ไหม? และต้องทำยังไงบ้าง?

ถ้าหากว่าผู้ประกอบการหรือผู้เช่าโรงงาน/โกดัง มีความต้องการเพิ่มกำลังไฟฟ้าเพิ่มเติมจากที่มีอยู่พื้นที่โรงงาน สามารถเริ่มจากการติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน) สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)สำหรับจังหวัดอื่นๆในประเทศไทย โดยการเพิ่มกำลังไฟฟ้าในพื้นที่โรงงานจะมีค่าใช้จ่ายที่เข้ามาโดยขึ้นอยู่ปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้าที่จะขอเพิ่ม เช่น โครงสร้างโรงงาน ที่ตั้งโรงงาน ระยะห่างของพื้นที่การใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้า (หรือหม้อแปลงไฟฟ้า) ซึ่งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจเพิ่มกำลังไฟฟ้า

4. ควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ก่อนเพิ่มกำลังไฟฟ้า?

สำหรับขั้นตอนการแจ้งเพิ่มไฟฟ้า ผู้ประกอบการ หากเป็นผู้เช่าโรงงานต้องเตรียมเอกสารต่างๆให้กับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของที่ดิน โดยเอกสารหลักๆจะมีดังนี้ ใบอนุญาติประกอบกิจการ ผังโรงงาน เอกสารแจกแจงการคำณวนโหลดไฟฟ้า และเอกสารอื่นๆ เพื่อแสดงความจำเป็นในการเพิ่มกำลังไฟฟ้าเช่น เอกสารการใช้ไฟฟ้าในอดีต รายละเอียดเครื่องจักร เป็นต้น เมื่อรวบรวมเอกสารจำเป็นแล้ว และได้รับการยินยอมจึงนำเรื่องไปยื่นต่อ กฟน. และ กฟภ. เพื่อตรวจสอบและอนุมัติต่อไป โดยหน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ ให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนการเพิ่มไฟฟ้า รวมไปถึงการอธิบายการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเติมหรือการปรับผังโรงงานตามความเหมาะสม

5. คำณวนอัตราการใช้ไฟทำอย่างไร?

ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่โครงการอุตสาหกรรมจะมีหม้อแปลงขนาดใหญ่ที่ใช้ร่วมกันแบ่งสัดส่วนการจัดสรรไฟฟ้าให้แต่ละโกดังหรือโรงงาน โดยปริมาณไฟฟ้าที่สามารถใช้ได้อยู่จะขึ้นอยู่กับความจุของหม้อแปลงไฟฟ้าภายในโครงการโดยรวมและการจัดสรรสำหรับแต่ละพื้นที่โรงงาน ซึ่งหากความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้ประกอบการมีมากกว่าความจุที่ได้รับการจัดสรร เช่น ต้องการ 400 แอมแปร์ขึ้นไป ผู้ประกอบการอาจจจะต้องซื้อตู้กระจายไฟหลัก (Main Distribution Board, MDB) และหม้อแปลงไฟในหน่วยกิโลวอลต์แอมป์ (kVA) เพิ่มเติม โดยเครื่องมือเหล่านี้จะต้องถูกติดตั้งภายในพื้นที่โรงงานเพื่อรองรับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น สำหรับการคำณวนอัตตราการใช้ไฟฟ้าแบบง่ายๆ สามารถคำณวนผ่านเว็บไซต์ได้เลย! คลิ๊กที่นี่ .

การเข้าใจหลักการพื้นฐานของไฟฟ้า และแนวทางในการเพิ่มหน่วยไฟฟ้าในพื้นที่โรงงานและสิ่งที่จำเป็น เป็นเคล็ดสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้และเข้าใจก่อนจะเริ่มลงทุนในการเพิ่มการใช้พลังงานในโกดังสินค้าหรือโรงงานของตัวเอง เพราะจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นอีกด้วยนะ หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่กำลังมองหาพื้นที่โกดังหรือโรงงานให้เช่าในขนาดต่างๆ หรือสอบถามข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ เรา


แบ่งปันบทความนี้

Compare listings

เปรียบเทียบ