...

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง. 4)

แบ่งปันบทความนี้

เมื่อผู้ประกอบเริ่มการเช่าโกดังหรือโรงงานในประเทศไทย การจัดการเอกสารและใบอนุญาตเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่ทุกคนควรรับรู้และเข้าใจก่อนจะเริ่มการดำเนินธุรกิจได้ ใบอนุญาตประกอบกิจการโงงานเป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องมีหากมีการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ในตอนนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า “แล้วเราต้องมีใบอนุญาตไหมนะ” บทความนี้จะรวมทุกอย่างที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากคำอธิบาย การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอ จนถึงขั้นตอนการยื่นรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน  

1. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานคืออะไร?

สำหรับประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายและมาตรการควบคุมการก่อสร้าง การดำเนินงาน ไปจนถึงการปล่อยมลพิษของโรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 โดยพรบ. นี้ได้นิยามความหมายของโรงงานไว้ว่า “อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลัง รวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกาลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไป สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ” โดยมีการกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเพื่อควบคุมความปลอดภัยและดูแลการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศไทย

ซึ่งโดยปกติแล้ว ธุรกิจส่วนใหญ่ที่จัดตั้งกิจการหรือโรงงานในประเทศไทยจำเป็นต้องแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมให้ทราบถึงการจัดตั้งโรงงานรวมไปถึงการยื่นขอรับใบอนุญาตก่อนเริ่มการดำเนินการใด ๆ ทางธุรกิจโดยมีตัวแทนจากหน่วยงานรัฐบาลตรวจสอบพื้นที่ ความปลอดภัย หากมีการฝ่าฝืนทางการกฏหมายอาจมีโทษถึงขั้นคดีความ จำคุก จ่ายค่าปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ หากจำเป็น

2. เกณฑ์การยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

Factory license (1)

ในส่วนของการยื่นของใบอนุญาตนั้น ทางผู้ประกอบการอาจจะไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตหากไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 นั้นได้มีการจัดประเภทโรงงานและกฎเกณฑ์ที่ใช้นั้นก็แตกต่างกัน โดยอิงจากขนาดของโรงงาน กำลังการผลิต ประมาณการจำนวนมลพิษที่ปล่อยจากโรงงาน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3 ซึ่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ได้แบ่งประเภทโรงงานไว้สามประเภท ดังนี้:

1. ประเภท ชนิด และขนาด ของโรงงาน ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที
โรงงานผลิตประเภทเริ่มงานได้ตามประสงค์ของเจ้าของกิจการและไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาต โดยมีเครื่องจักร ในส่วนการปฏิบัติงานไม่เกิน 5-20 แรงม้าและมี(หรือไม่มี)ทรัพยการคนอยู่ที่ 7-20 คน

2. ประเภท ชนิด และขนาด ของโรงงาน ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้หน่วยงานทราบ
โรงงานผลิตที่สามารถเริ่มดำเนินการกิจการโดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตแต่จำเป็นต้องแจ้งให้หน่วยงานรับทราบ โดยมีเครื่องจักรในส่วนการปฏิบัติงานไม่เกิน 20-50 แรงม้าและมี(หรือไม่มี)ทรัพยการคนอยู่ที่ 20-50 คน

3. โรงงานที่ต้องได้รับใบอนุญาต
โรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มต่อการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้และมีกำลังผลิตขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีใบอนุญาตและผ่านการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ก่อนเริ่มดำเนินงานได้ ซึ่งมีเครื่องจักรในส่วนการปฏิบัติงานมากกว่า 50 แรงม้าขึ้นไปและมี(หรือไม่มี)ทรัพยการคนอยู่เกิน 50 คนขึ้นไป

3. ทำอย่างไรถึงจะมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้

Factory license (2)

สำหรับหรับโรงงานที่มีความจำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจโรงงาน นี้คือเอกสารที่ผู้ประกอบการควรเตรียมให้พร้อมก่อนยื่นและตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนก่อนเริ่มขั้นตอนการยื่นคำขอ โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมดังนี้:

  1. คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
  2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน (สำหรับนิติบุคคล)
  3. แบบแปลนแผนผังอาคารโรงงาน ที่ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกร
  4. แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร ที่ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกร
  5. ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียดและ เอกสารอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่กำหนด เช่น สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง สำเนาโฉนดที่ดิน หรือเอกสารแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน หนังสือมอบอำนาจ ผลรายงานการประเมินความเสี่ยง

เมื่อเตรียมเอกสารต่างๆเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องยื่นคำขอใบอนุญาตกับเอกสารทั้งหมดให้ทางสำนักงานเขต โดยเมื่อส่งคำขอพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมแล้ว ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะส่งตัวแทนจากทางราชการเพื่อมาตรวจสอบพื้นที่ตั้งของโรงงาน การก่อสร้าง เครื่องจักรต่างๆรวมไปถึงการจัดการทางด้านมลพิษที่เกิดจากโรงงาน

เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วทางตัวแทนหน่วยงานราชการจะยื่นผลรายงานภายใน 30 วันก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน โดยมีระยะเวลาของการพิจารณาคำร้องเป็นเวลา 50 วัน เพื่อที่หน่วยงานจะตัดสินใจว่าคำขอนั้นสามารถอนุมัติให้ได้หรือไม่ โดยทางผู้ประกอบการสามารถใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนรายละเอียดหรือมีการเปลี่ยนแปลงแปลนเพิ่มเติมภายใต้กรอบเวลาดังกล่าว เมื่อทางผู้ประกอบการได้รับการอนุมัติและได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้วนั้น ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานมีผลต่อพื้นที่ ที่ได้ผ่านการตรวจสอบแล้วเท่านั้น หมายความว่าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของโรงงานหรือรูปแบบการผลิต ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องยื่นคำขอใบอนุญาตใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการปล่อยเช่าพื้นที่

4. การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

Factory license (3)

เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว หลาย ๆ คนอาจสังสัยว่า “แล้วเราจำเป็นต้องต่ออายุใบอนุญาตหรือไม่?” ใช่ครับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในประเทศไทยจำเป็นต้องมีการต่ออายุทุกๆ 5 ปีและควรต่ออายุก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุจริงๆ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจมีผลต่อการระงับการดำเนินงานของโรงงานได้ โดยขั้นตอนของการยื่นการต่ออายุนั้นจะมีขั้นตอนและค่าธรรมเนียมเหมือนกับขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตโดยใช้ระยะเวลาขั้นต่ำประมาณ 90 วัน โดยภายใต้ช่วงเวลานี้จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบพื้นที่และสภาพการดำเนินงานของโรงงานและเมื่อได้รับการต่ออายุแล้ว ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจะอายุต่อไปอีก 5 ปี แต่ถ้าหากทางผู้ประกอบการหรือตัวโรงงานมีเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือรูปแบบการดำเนินงานทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องยื่นคำขอใบอนุญาตใหม่ทั้งหมด

โดยสรุปแล้ว ผู้ประกอบการในประเทศไทยที่คิดจะดำเนินธุรกิจด้านสายงานอุตสาหกรรมหรือการผลิตควรมีการวางแผนและความเข้าใจในเรื่องของใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน รวมไปถึงพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และข้อบังคับต่างๆที่ทางโรงงานจำเป็นต้องปฏิบัติตาม แต่อย่าลืมนะ! ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จำเป็นต้องยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ภายใต้เกณฑ์โรงงานทั้ง 3 ประเภท และขั้นตอนเอกสารต่าง ๆ สามารถเริ่มทำได้หลังจากการเช่าโกดังสินค้าแล้ว ดังนั้นพวกเราแนะนำให้วางแผนอย่างเหมาะสม

ถ้าคุณกำลังมองหาพื้นที่โกดังหรือโรงงานในขนาด 300-30,000 ตารางเมตรในสมุทรปราการเพื่อการเช่าในการดำเนินธุรกิจแล้ว สามารถติดต่อพวกเราได้ คลิกที่นี่


แบ่งปันบทความนี้

Compare listings

เปรียบเทียบ