ภาษีเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายจำเป็นในการดำเนินธุรกิจและผู้ประกอบการควรมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการจ่ายภาษี ความแตกต่างของภาษีรูปแบบต่างๆ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีในประเทศไทย ดังนั้นแล้วผู้ประกอบการหลายๆท่าน ที่กำลังเริ่มทำธุรกิจใหม่อาจมีคำถามในใจ “แล้วฉันจะต้องจ่ายภาษีอะไรบ้างนะ ถ้าจะเริ่มเช่าโกดังหรือโรงงานสินค้าในไทย?” บทความนี้จะสรุปภาษี 4 ประเภทที่ผู้ประกอบการควรเข้าใจก่อนเริ่มเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงานในประเทศไทย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง!
1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในประเทศไทย
ถ้าให้อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ รวบรัด ภาษี หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีรูปแบบหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องหักเงินจำนวนหนึ่ง Iเมื่อจ่ายค่าเช่าหรือค่าบริการก่อนจ่ายให้กับผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการ อันเป็นขั้นตอนการหักภาษีเพื่อนำจ่ายในภายหลัง โดยหลังการจ่าย ทางผู้ให้เช่าจำเป็นต้องออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงิน (ผู้ให้เช่า) เพื่อยืนยันการหัก ณ ที่จ่าย หลังจากนั้นภายในวันที่ 7th ของเดือนถัดไปของการหัก ณ ที่จ่ายผู้เช่าหรือผู้ใช้บริการจำเป็นต้องทำเรื่องนำส่งภาษีต่อกรมสรรพากร โดยปัจจุบันอัตราของภาษีหัก ณ ที่จ่ายในไทย สำหรับการเช่าที่ดินหรืออสังหาฯ จะอยู่ที่ 5% ของค่าเช่ารายเดือน
ตัวอย่าง ก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในค่าเช่า: บริษัท 01 เช่าโกดังสินค้าสำหรับเป็นศูนย์กระจายสินค้านำเข้า โดยอัตราค่าเช่ารายเดือนอยู่ที่ 250,000 บาท/เดือน
ผู้ให้เช่าจำเป็นต้องหัก จำนวน 12,500 บาท (250,000 x 5%) , อันเป็นอัตราส่วน 5% ของค่าเช่ารายเดือนก่อนที่จะนำส่งภาษีต่อกรมสรรพากรและออกเอกสารยืนยันการหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้ให้เช่า ดังนั้นแล้วผู้ให้เช่าจำได้รับเงินค่าเช่ารายเดือนหลังการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วในจำนวน 237,500.00 บาท/เดือน (250,000-12,500)
นอกจากนั้นแล้ว ในประเทศไทยยังมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนของค่าบริการอีกด้วย โดยการหักภาษีรูปแบบนี้มีหลักการเดียวกันกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายในค่าเช่ารายเดือนแต่มีอัตราส่วนการหักที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนของการหัก ณ ที่จ่ายในค่าบริการ จะอยู่ที่ 3% ของค่าบริการทั้งหมด และมีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (VAT) มาดูการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการคำนวณ ตัวอย่าง ข ในตัวอย่างถัดไปกันเถอะ!
ตัวอย่าง ข การหักภาษี ณ ที่จ่ายและ VAT ในค่าบริการ: ผู้ให้เช่าจะมีการคิดค่าบริการต่างๆเพิ่มเติมในการเช่าโกดังสินค้าแก่ผู้เช่าในอัตราส่วน 20,000 บาท/เดือน ดังนั้นแล้วผู้ให้เช่าจำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งสองรูปแบบ
ผู้เช่าต้องหัก ณ ที่จ่ายค่าบริการในจำนวน 600 บาท (20,000 x 3%), และนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร นอกจากนั้นแล้วทางผู้เช่าต้องจ่าย VAT 7% ในส่วนของค่าบริการรายเดือน เป็นจำนวน 1,400 บาท (20,000 x 7%)
ดังนั้นแล้ว ผู้ให้เช่าจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าบริการหลังการคำนวณทั้งหมดแล้วเป็นจำนวน 20,800 บาท (20,000-600+1,400)
รวมทั้งหมดนั้น บริษัท 01 ต้องจ่ายค่าเช่าและค่าบริการรายเดือนทั้งหมด 258,300 บาท/เดือนหลังจากการหักณที่จ่ายและ VAT (237,500+20,800)
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม การเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงานในประเทศไทยนั้น ในกฎหมายไทยจะไม่มีการเก็บ VAT จากค่าเช่า ทว่าในกรณีของผู้ให้เช่า/เจ้าของที่ดินผู้มีรายได้เกิน 1.8ล้าน บาทต่อปีนั้น ทางผู้ให้เช่า/เจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปในส่วนของค่าบริการต่างๆเป็นอัตราส่วนเพิ่มอีก 7% ของค่าบริการ โปรดดูที่ ตัวอย่าง ข เพื่อเป็นการอ้างอิงวิธีการคำนวณ VAT
3. การคำณวนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ในปี 2563 ทางประเทศไทยได้ออกกฎหมายฉบับใหม่ในส่วนของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศ โดยมีเนื้อหาถึงการเก็บภาษีที่มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นสำหรับที่ดินที่ไม่ใช่ที่ดินเพื่อการเกษตรหรือที่อยู่อาศัย อย่างเช่น อาคารพาณิชย์ ที่ดินเปล่า ร้านค้า โกดังสินค้า โรงงานและอื่นๆ โดยพวกเราได้สรุปอัตราส่วนการเก็บภาษีแบบคร่าวๆ ดังนี้
- สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้าน บาท, จำเป็นต้องจ่ายภาษีต่อปีที่ 0.7% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่า 1,000-5,000 ล้าน บาท, จำเป็นต้องจ่ายภาษีต่อปีที่ 0.6% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.
- สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่า 200-1,000 ล้าน บาท, จำเป็นต้องจ่ายภาษีต่อปีที่ 0.5% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่า 50-200 ล้าน บาท, จำเป็นต้องจ่ายภาษีต่อปีที่ 0.4% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้าน บาท, จำเป็นต้องจ่ายภาษีต่อปีที่ 0.3% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.
สำหรับข้อมูลเรื่องการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://news.bloombergtax.com/daily-tax-report-international/insight-new-property-tax-in-thailand-from-2020
4. ค่าอากรแสตมป์และค่าธรรมเนียมอื่นๆ
ในการเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงานในประเทศไทย การทำสัญญาเช่าจำเป็นต้องมีอากรแสตมป์ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันทางกฎหมายว่าสัญญาเช่าได้รับการรับรองและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย โดยทางรัฐบาลไทยได้มีการคิดค่าอากรแสตมป์ในอัตราส่วน 0.1% ของค่าเช่าตลอดระยะสัญญาการเช่า อันเกิดจากการรวมยอดรวมระยะสัญญาการเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงานที่ตกลงร่วมกันระหว่างผู้เช่าและเจ้าของที่ดิน
ตัวอย่าง ค การคำนวณแสตมป์อากร: เจ้าของที่ดินมีการคิดค่าเช่าเป็นจำนวน 250,000 บาท/เดือน โดยมีระยะสัญญาการเช่าทั้งหมด 3 ปี
ดังนั้นแล้ว ผู้ให้เช่าจำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าทั้งหมดในระยะสัญญาเช่า 3 ปี เป็นจำนวนรวม 9,000,000 บาท (250,000x12x3) สำหรับค่าแสตมป์อาการนั้น ผู้ให้เช่าต้องจ่ายในอัตราส่วน 1% ของค่าเช่าตลอดระยะสัญญา อันเป็นจำนวนเท่ากับ 9,000 บาท (9,000,000x0.1%)
โดยสรุปแล้ว เรื่องของภาษีทั้ง 4 ประเภทที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนเริ่มเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงานในประเทศไทยมีดังนี้: ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และอากรแสตมป์ โดยภาษีแต่ละประเภทมีหลักการอัตราเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปและสำคัญมากๆที่ทุกคนควรทำความเข้าใจก่อนจะเริ่มทำธุรกิจนะ! รู้หรือไม่? ว่าในเรื่องของภาษีนั้นการเช่าโกดังสินค้าหรือที่ดินในประเทศไทยยังมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความของเราเลย
ถ้าคุณกำลังมองหาพื้นที่โกดังหรือโรงงานในขนาด 300-30,000 ตารางเมตรในสมุทรปราการเพื่อการเช่าในการดำเนินธุรกิจแล้ว สามารถติดต่อพวกเราได้ คลิกที่นี่.